จากการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาเหลือ 1% จาก 1.25%
#ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์
ซึ่งเดี๋ยวเราจะได้เห็นแบงก์ต่างๆพากันปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินกู้ เงินฝากลง
………….
แล้ว #ดอกเบี้ยนโยบาย นี่ มันคืออะไร มีผลกับเศรษฐกิจได้ไง
เล่าให้เพื่อนๆฟังง่ายๆอย่างนี้ครับ
ดอกเบี้ยนโยบาย คืออัตราดอกเบี้ยที่กนง.กำหนดไว้สำหรับการให้กู้ overnight
หรือดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนระหว่างธนาคารครับ
ทำไมแบงก์ต้องมีการกู้ข้ามคืนกัน……
แบงก์ทุกแบงก์จะต้องมีเงินสำรองไว้ตามเกณฑ์แบงก์ชาติ เพื่อให้มีสภาพคล่อง
ซึ่งปริมาณเงินสำรองจะคำนวณตามปริมาณเงินฝากในแต่ละช่วงเวลาของแบงก์นั้นๆ
เช่นกำหนดเงินสำรอง 10%
แบงก์ก.ไก่ มีเงินฝากจากประชาชน 100 บาท ก็ต้องเก็บสำรองไว้ 10 บาท
แล้วเอาเงินไปปล่อยกู้ได้ 90 บาท
ทีนี้ ถ้าแบงก์ไหนมีเงินเหลือเกินที่กำหนด
ก็ต้องหาทางเอาไปให้แบงก์อื่นกู้
เพราะนอนกอดเงินไว้เฉยๆนี่เสียประโยชน์ไปเปล่าๆ
กลับกัน ใครเงินเหลือไม่ถึงกำหนดสำรอง ก็เดือดร้อนละครับ
ต้องวิ่งหากู้เงินจากแบงก์อื่น มาเติมให้เต็ม
อัตราดอกเบี้ยกู้ข้ามคืน เป็นเท่าไหร่
จะถูกกำหนดโดย กนง. เรียกว่าดอกเบี้ยนโยบาย
เอาไว้ให้เป็น rate ที่แบงก์ต่างๆ ใช้กู้ข้ามคืนระหว่างกัน
ใครเงินขาด ขอกู้
ใครเงินเหลือ ให้กู้
ด้วยอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตามที่กนง.กำหนดไว้
ซึ่งตอนนี้คือ 1% ต่อปี
.
แต่ถ้าใครเกิดเงินขาดแล้ววิ่งหาแบงก์อื่นขอกู้ไม่ได้
หรือเงินเหลือ แล้วหาปล่อยกู้ไม่ได้
ก็ต้องไปขอกู้จากแบงก์ชาติ
หรือไปขอฝากเงินกับแบงก์ชาติ
ซึ่งจะโดนลงโทษว่าบริหารเงินไม่ดี
Rate ที่ให้แบงก์ชาติให้กู้ จะแพงกว่าดอกเบี้ยนโยบาย เช่น 1 + 0.5 กลายเป็น 1.5%
Rate ที่รับฝาก ก็ถูกกว่า เช่น 1 – 0.5 เหลือ 0.5%
ดังนั้น
#ดอกเบี้ยนโยบาย
– เป็นดอกเบี้ยขั้นต่ำที่แบงก์แต่ละแบงก์จะกู้ระหว่างกันได้
– เป็นต้นทุนทางการเงินที่แบงก์เอาไปใช้คำนวณการคิดดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้กับประชาชน
กนง. และแบงก์ชาติจึงใช้ดอกเบี้ยนโยบาย ในควบคุมอัตราดอกเบี้ยในตลาดได้ครับ
ช่วงไหนอยากกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็กำหนดดอกเบี้ยต่ำๆ
เพื่อให้ต้นทุนเงินต่ำ เพิ่มสภาพคล่องของเงินในตลาด
ช่วงไหนเศรษฐกิจร้อนแรงเกิน ต้องชะลอลงบ้าง
ก็กำหนดอัตราดอกเบี้ยให้สูงๆ ต้นทุนเงินก็จะสูง
คนนอนกอดเงินฝากมากขึ้น กู้น้อยลง
………
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1% ที่เพิ่งประกาศออกมา
ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์!!!!
ถือเป็นยาแรงมาก ที่จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่ตอนนี้
ก็ต้องลุ้น ดูผลกันต่อไปครับ
.
#เรียนรู้หนี้ชีวิตก็มันส์ได้
#มันส์หนี้Money
#กนง.
#ธนาคารแห่งประเทศไทย
#ดอกเบี้ย