คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ลดดอกเบี้ยนโยบาย อีก 0.25%

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
ลดดอกเบี้ยนโยบาย อีก 0.25%
จาก 1% เหลือ 0.75%
ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์

มีผล วันที่ 23 มีนาคม 2563

ดังนั้น

อย่างน้อย ตั้งแต่วันจันทร์หน้า
เราควรจะเห็นแบงก์ทุกแบงก์ #ลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อต่างๆ
ในอัตราเดียวกันกับดอกเบี้ยนโยบาย

คือลดลง 0.25%

………

ดอกเบี้ยนโยบายคืออะไร

ผมเคยเขียนอธิบายไว้ในโพสต์นี้ครับ

#ดอกเบี้ยนโยบาย คืออะไรจากการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาเหลือ 1% จาก 1.25%…

โพสต์โดย มันส์หนี้ Money เมื่อ วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ 2020

………

ในการประชุม นอกจากเรื่องลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว
ยัง มีการพูดถึงเรื่องเหล่านี้ด้วย

– สถาบันการเงินต้องมีบทบาทเชิงรุกในการ #ช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องลูกหนี้
– สถาบันการเงินต้องเร่ง #ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ อย่างเป็นรูปธรรม
– แบงก์ชาติต้องติดตามดู #การช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงิน

……….

รายละเอียด ของผลการประชุม ตามนี้ครับ

“วันที่ 20 มีนาคม 2563 กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25
จากร้อยละ 1.00 เป็นร้อยละ 0.75 ต่อปี โดยให้มีผลในวันที่ 23 มีนาคม 2563

ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (นัดพิเศษ)ในวันที่ 20 มีนาคม 2563
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีการประชุมนัดพิเศษ
เพื่อประเมินผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19
ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและกลไกการทำงานของตลาดการเงินของประเทศ

คณะกรรมการฯ เห็นว่าการระบาดของ COVID-19 ในระยะข้างหน้ารุนแรงกว่าที่คาดไว้เดิม
รวมทั้งจะใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าที่จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ซึ่งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจไทย
นอกจากนี้ การระบาดที่เกิดขึ้นได้สร้างความกังวลให้กับตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลก
ซึ่งที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องและกลไกการทำงานของตลาดการเงินไทย
แม้ว่าระบบการเงินไทยโดยรวมยังมีเสถียรภาพ

คณะกรรมการฯ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี
จากร้อยละ 1.00 เป็นร้อยละ 0.75 ต่อปี โดยให้มีผลในวันที่ 23 มีนาคม 2563
เพื่อลดภาระดอกเบี้ยของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ
บรรเทาปัญหาสภาพคล่องในตลาดการเงิน
และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจโดยรวม
ซึ่งจะช่วยสนับสนุนมาตรการการคลังของรัฐบาลที่ได้ออกมาแล้วและจะออกมาเพิ่มเติม

คณะกรรมการฯ เห็นว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งที่ผ่านมา
และในครั้งนี้จะเกิดผลต่อระบบเศรษฐกิจก็ต่อเมื่อ
สถาบันการเงินจะต้องมีบทบาทเชิงรุกในการช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องของลูกหนี้
โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs และประชาชน
รวมทั้งการเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เกิดผลอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
จึงขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยติดตามการช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินแต่ละแห่งอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลสภาพคล่องและกลไกการทำงานของตลาดการเงิน
เพื่อให้มั่นใจว่าตลาดการเงินมีเสถียรภาพและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ